ประวัติวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2481 เดิมชื่อโรงเรียนการช่างเย็บเสื้อผ้าวัดหงส์รัตนาราม ตั้งอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เปิดสอนหลักสูตรตัดเย็บเสื้อผ้าระดับอาชีวศึกษาตอนต้น เรียน 2 ปี รับผู้สาเร็จชั้นประถมปีที่ 4 นางองุ่น หุราพันธ์ ดารงตาแหน่งครูใหญ่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ย้ายมาอยู่วัดอรุณราชวรารามเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสตรีธนบุรีเปิดสอนหลักสูตรการช่างสตรีระดับอาชีวศึกษาตอนต้น รับผู้สาเร็จชั้นประถมปีที่ 4 และระดับอาชีวศึกษาตอนกลางรับผู้สำเร็จอาชีวศึกษาตอนต้นหรือมัธยมศึกษาตอนต้น นางนนทพิทยพิลาศ (เสงี่ยม โรจนสมิต) ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และในปีการศึกษา 2499 เปิดหลักสูตรการช่างสตรีระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงเพิ่มขึ้น
ในปีการศึกษา 2500 เปลี่ยนเป็นหลักสูตรการช่างสตรีระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น เรียน 2 ปี และระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายเรียน 3 ปี มีการเปลี่ยนหลักสูตรมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปีการศึกษา 2510 รับผู้สาเร็จชั้น ม.6 และ ม.ศ.3 เข้าเรียนสาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
โรงเรียนการช่างสตรีธนบุรีได้ย้ายมาอยู่ปัจจุบันที่เลขที่ 182ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 บางกอกใหญ่ กทม.10600 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2515 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาธนบุรี ในปีการศึกษา 2516 และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522
วิสัยทัศน์
“ภายในปี 2558 วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีมุ่งมั่นจัดการศึกษาและบริการวิชาชีพสู่สังคม
โดยการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและเป็นเลิศทางวิชาชีพ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน”
Vision
“In 2015 Thonburi Vocational College dedicates to provide the quality education and vocational for society through IT system management to assure that our graduates are well equipped with high moral & knowledge and best caree practice. Following from the principle of Economy Sufficiency to Asian Economic Community (AEC)”
พันธกิจ
- จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและเจตคติในวิชาชีพ โดยการวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นำสู่สมดุลอย่างมั่นคงและยั่งยืนใน4 มิติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- บริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมกิจกรรมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)